วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 5




กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ




หน่วยที่ 1 วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ สำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนา ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ เช่น วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา เป็นวิธีการสอนที่ส่วนใหญ่อาศัยการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยใช้วิธีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งครูเป็นผู้ชี้แนะเท่านั้น







หน่วยที่ 2 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ เทคนิคหรือวิธีการที่มุ่งพัฒนาทักษะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ เช่น เทคนิคกระบวนการสืบค้นจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า เกิดกระบวนการเรียนรู้ และมีความคิดสร้างสรรค์ โดยบทบาทหน้าที่ของผู้เรียนจะต้องศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง







หน่วยที่ 3 เทคนิควิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน 

                เทคนิควิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน คือ กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอน หรือการกระทำใดๆทางการสอน เพื่อช่วยการสอนนั้นมีคุณภาพมากขึ้น เช่น เทคนิคการใช้คำถาม ที่ช่วยเสริมสร้างความคิดให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน



หน่วยที่ 4 เทคนิคการใช้ผังกราฟิก

                เทคนิคการใช้ผังกราฟิกเป็นเทคนิคที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจ โดยผู้เรียนต้องทำความเข้าใจจากเรื่องที่ศึกษาแล้วสรุปออกมาเป็นความคิดของตน และใช้ทักษะคิดวิเคราะห์แยกแยะเพื่อนนำมาสร้างเป็นผังกราฟฟิก




หน่วยที่ 5 การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางสังคม  และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่มในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน





หน่วยที่ 6 เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือการจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคนโดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน  โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง และส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น





หน่วยที่ 7 การวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                การประเมินผลเป็นกระบวนการสำคัญที่มีส่วนเสริมสร้างความสำเร็จให้กับผู้เรียน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลจำเป็นต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกัน  แนวคิดในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสม คือ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง     





---------------------------------------------------------------------------------



รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ




เทคนิค/วิธีการสอน
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
บทบาทผู้เรียน
1.กระบว­นการสืบค้น 
 · การศึกษาค้นคว้า
 · การเรียนรู้กับ         กระบวนการ
 · การตัดสินใจ
 · ความคิดสร้างสรรค์
    ศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้แบบค้นพบ
 · การสังเกต การสืบค้น
 · การใช้เหตุผล การอ้างอิง
 · การสร้างสมมุติฐาน
    ศึกษาค้นพบข้อความรู้และขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
 · การศึกษาแบบค้นคว้า
 · การวิเคราะห์ สังเคราะห์
 · ประเมินค่าข้อมูล
 · การลงข้อสรุป
 · การแก้ปัญหา
    ศึกษาแก้ปัญหาอย่างเป็น
กระบวนการและฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง
4.การเรียนรู้แบบสร้างแผนผัง
 · การคิด
 · การจัดระบบความคิด
    จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจนเห็นความสัมพันธ์
5.การตั้งคำถาม
 · กระบวนการคิด
 · การตีความ
 · การไตร่ตรอง
 · การถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ
    เรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
6.การศึกษาเป็นรายบุคคล
 · การศึกษาค้นข้อความรู้
 · การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
 · ความรับผิดชอบ
 · การตอบคำถาม
    เรียนรู้อย่างอิสระด้วยตนเอง
7.การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี
 · การแก้ปัญหา
 · การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
 · การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียนทันที
 · การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน
 · บทเรียนสำเร็จรูป
 · คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 · e-learning
    เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตนมีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ
8.อภิปรายกลุ่มใหญ่
 · การแสดงความคิดเห็น
 · การวิเคราะห์
 · การตีความ
 · การสื่อความหมาย
 · ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 · การสรุปความ
    มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นมีบทบาทมีส่วนร่วม ในการสร้างข้อความรู้
9.อภิปรายกลุ่มย่อย
 · กระบวนการการกลุ่ม
 · การวางแผน
 · กาแก้ปัญหา
 · การตัดสินใจ
 · ความคิดระดับสูง
 · ความคิดสร้างสรรค์
 · การแก้ไขข้อขัดแย้ง
 · การสื่อสาร
 · การประเมินผลงาน
 · การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
    รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงานและบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ในการสร้างข้อคามรู้สึกหรือผลงานกลุ่ม
9.1 เทคนิคคู่คิด
 · การค้นคว้าหาคำตอบ
 · การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
รับผิดชอบการร่วมกับเพื่อน
9.2 เทคนิคการระดมพลังสมอง
 · การมีส่วนร่วม
 · การแสดงความคิดเห็น
 · ความคิดสร้างสรรค์
 · การแก้ปัญหา
    แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลาอันรวดเร็ว
9.3 เทคนิค buzzing
 · การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.4 การอภิปรายแบบกลุ่มต่างๆ
 · การสื่อสาร
 · การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
 · การสรุปข้อความ
    รับฟังขอมูลความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.5 กลุ่มติว
 · การฝึกซ้ำ
 · การสื่อสาร
    ทบทวนจากกลุ่มหรือเรียนเพิ่มเติม
10.การฝึกปฏิบัติการ
 · การค้นคว้าหาความรู้
 · การรวบรวมข้อมูล
 · การแก้ปัญหา
    ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ
11.เกม
 · การคิดวิเคราะห์
 · การตัดสินใจ
 · การแก้ปัญหา
    ได้เล่นเกมด้วยตนเองภายใต้กฎหรือกติกาที่กำหนดได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรมและเกิดความสนุกสนานในการเรียน
12.กรณีศึกษา
 · การค้นคว้าหาความรู้
 · การอภิปราย
 · การวิเคราะห์
 · การแก้ปัญหา
    ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา
13.สถานการณ์จำลอง
 · การแสดงความคิดเห็น
 · ความรู้สึก
 · การวิเคราะห์
   ได้ทดลองแสดงพฤติกรมต่างๆในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงสถานการณ์จริง
14.ละคร
 · ความรับผิดชอบในบทบาท
 · การทำงานร่วมกัน
 · การวิเคราะห์
ได้ทดลองแสดงบทบาทตามกำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจความรู้สึกเหตุผลและพฤติกรรมผู้อื่น
15.บทบาทสมมุติ
 · มนุษย์สัมพันธ์
 · การแก้ปัญหา
 · การวิเคราะห์
    ได้ลองสวมบทบาทต่างๆและศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมตน
16.การเรียนแบบร่วมมือ
ประกอบด้วยเทคนิค
JIGSAW, JIGSAW II, TGT STAD, LT, NHT, Co-op Co-op
 · กระบวนการกลุ่ม
 · การสื่อสาร
 · ความรับผิดชอบร่มกัน
 · ทักษะทางสังคม
    ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิกกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกกลุ่ม
17.การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
 · การนำเสนอความคิดเห็นประสบการณ์
 · การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
 · กระบวนการกลุ่ม
    มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป
18.การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
แบบ Shoreline Method
 · การค้นคว้าหาความรู้
 · การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
 · ทักษะทางสังคม
    มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและการคิดดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง


---------------------------------------------------------------------------------


เทคนิคผึ้งแตกรัง

           เทคนิคผึ้งแตกรังเป็นเทคนิคการสอนในรูปแบบการจัดกิจกรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิคผึ้งแตกรังมีดังต่อไปนี้

1)ครูเลือกเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ และจัดแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อยๆ

2) ครูจัดเนื้อหาการเรียนรู้ เอาไว้ที่ตามจุดต่างๆ

3) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ โดยให้คละเด็กเก่ง ปานกลาง อ่อน อยู่ด้วยกัน

4) ให้แต่ละกลุ่มวางแผน และมอบหมายงานให้เพื่อนสมาชิกรับผิดชอบในการศึกษาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆตามหัวข้อที่ได้ทำการแบ่ง

5) จากนั้นให้ตัวแทนของกลุ่มไป ศึกษาความรู้ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่ครูกำหนดให้

6)ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มที่ได้หัวข้อเรื่องเดียวกันไปศึกษาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและร่วมกันระดมความคิดจัดทำแผนผังความคิดเพื่อนำมาสรุปสาระสำคัญ

7)จากนั้นให้ตัวแทนกลุ่มกลับไปสู่กลุ่มเดิมและนำเอาแผนผังความคิด สรุปสาระสำคัญมาอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟัง

8)ให้สมาชิกในกลุ่มตั้งคำถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

9)ให้ทุกกลุ่มระดมความคิดและร่วมกันหาคำตอบกันภายในกลุ่ม เพื่อทบทวนและทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

10.)ให้แต่ละกลุ่มนำคำถามของกลุ่มตนเองไปแลกเปลี่ยนคำถามกับกลุ่มอื่น และระดมความคิดร่วมกันหาคำตอบ







ที่มา 

หนังสือ วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.


http://www.trueplookpanya.com








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น