การวางแผนการเรียนการสอนและการจัดการแผนการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ละรูปแบบนั้นได้นำวิธีการจัดระบบการเรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพบรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับการประกอบกิจการงานทั่วไป หากงานใดได้นำวิธีการจัดระบบการทำงานเข้าไปใช้แล้วงานนั้นย่อมดำเนินไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การใช้ การใช้วิธีการจัดระบบต่างๆ รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนี้ ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มต้นจากการวางแผน ซึ่งการเมืองแผนการสอนหรือการวางแผนการจัดการเรียนรู้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เน้นการเตรียมการสอนล่วงหน้าก่อนสอนโดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเขียนเป็นแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนเรียนรู้อย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบขั้นตอนต่างๆได้
1. ความหมายของการวางแผนการสอน
ไพฑูรย์ สินลารัตน์(หน้า 68) ได้ให้ความหมายของการวางแผนการสอนไว้ว่า การวางแผนการสอนเป็นกิจกรรมในการคาดคิดและกระทำของครูก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่งนั่นเอง ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย การคัดเลือกเนื้อหา การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการประเมินผล
วาสนา เพิ่มพูน (2542 หน้า 37) ให้ความหมายว่า การวางแผนการสอนเป็นการคิดล่วงหน้าอย่างรอบคอบว่าจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร เมื่อถึงเวลาจริงๆก็ดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดได้ ถ้าหากไม่ได้วางแผนการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้าก็มักจะเกิดปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย เกิดการผิดพลาดลืมสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกิจกรรมที่ดำเนินไปนั้นไม่ดีเท่าที่ควร
ชัยยงค์ พรหมวงค์(2543. หน้า 44) เสนอไว้ว่า การวางแผนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้าก่อนสอนโดยใช้ข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้จากการดำเนินงานตามระบบการสอน
จากคำจำกัดความของนักการศึกษาข้างต้นสรุปได้ว่า การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างละเอียด เพื่อจะได้ดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์
2. ความจำเป็นของการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสอนที่ดี เพราะการวางแผนการสอนเป็นการเลือกและตัดสินใจเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดเตรียมเนื้อหาโดยนำเนื้อหามาบูรณาการกัน ทำให้ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ นอกจากนี้การวางแผนการสอนล่วงหน้ายังมีความจำเป็นในแง่ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน และสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้สอนมีโอกาสได้ทราบเจตคติและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ทำให้สามารถเลือกวิธีสอน และการประเมินผลได้ถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้ผู้สอนท่านอื่นก็สามารถที่จะเข้าสอนแทนได้โดยง่าย
3. ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน
ในการวางแผนการสอนนั้นผู้สอนหรือผู้วางแผนจะต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องและนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอน ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่
1. สภาพปัญหาและทรัพยากร ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหาและตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้ฟังแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียน และสื่อการสอนได้ชัดเจนขึ้น
2. การวิเคราะห์เนื้อหา โดยกำหนดเป็นระดับหน่วยใหญ่ที่อาจต้องสอนหลายครั้ง ระดับหน่วยย่อยที่เป็นปลีกย่อยของหน่วยใหญ่ และระดับบทเรียนที่เป็นเนื้อหาของการสอน 1 ครั้ง สำหรับเนื้อหาของบทเรียนก็ต้องมีเคราะห์ออกเป็นหัวเรื่อง และหัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน
3. การวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอายุ ระดับความพร้อมและความรู้เดิมของผู้เรียนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนมีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนในระดับต่างๆ
4. ความคิดรวบยอด เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสาระ หรือ แก่นของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับอาจเปรียบได้ง่ายๆกับการปรุงอาหารที่ต้องมีการกำหนดความสมดุลของสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับ โดยไม่คำนึงถึงกากหรือเนื้ออาหาร การสอนก็เช่นเดียวกันผู้สอนต้องกำหนดให้เด่นชัดก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความคิดรวบยอดที่เป็นแก่นสารของเนื้อหาสาระอะไรบ้าง
5. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียนที่ผู้สอนกำหนดไว้ การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะก็นิยมกำหนดไว้ในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
6. กิจกรรมการเรียน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง โดยคำนึงถึงกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมการเรียนต้องจัดไว้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
7. สื่อการสอน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าเช่นเดียวกัน โดยพิจารณากิจกรรมการเรียนเป็นหลัก
8. การประเมินผล เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ว่าจะตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร ทั้งในส่วนที่เป็นพฤติกรรมเดิม (ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว) พฤติกรรมต่อเนื่อง (พฤติกรรมย่อยที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปทีละน้อย) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (พฤติกรรมที่เป็นผลลัพธ์ซึ่งผู้สอนคาดหมายไว้)
4. แนวทางการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอนสามารถกระทำได้ 2 แนวทางคือ การวางแผนระยะยาว และการวางแผนระยะสั้น
1. การวางแผนระยะยาว หมายถึง การวางการสอนที่ยึดหน่วยการสอนซึ่งครอบคลุมเนื้อหาสาระค่อนข้างกว้าง ต้องใช้เวลาในการสอนเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นภาคเรียนและเป็นปี โดยการทำเป็นโครงการสอน ซึ่งเรียกตามหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรใหม่ เรียกว่ากำหนดการสอนนั่นเอง
2. การวางแผนระยะสั้น หมายถึง การวางแผนการสอนของบทเรียนแต่ละเรื่องให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ผู้สอนที่ดีจำเป็นต้องมีแผนล่วงหน้าในการสอนทุกเรื่อง การวางแผนการสอนของผู้สอนอาจทำในรูปแบบต่างๆกัน และอาจเรียกว่า บันทึกการสอนตามหลักสูตรเก่า หรือแผนการสอน แต่ในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งยังคงใช้คำว่าแผนการสอน ให้ใช้คำว่าแผนการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้แทน ซึ่งสถานศึกษาบางแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอนอยู่ เพราะสร้างความเข้าใจได้ง่ายเป็นแผนที่ครูเป็นผู้จัดทำออกแบบและใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้
ความหมายของกำหนดการสอน
การกำหนดการสอนเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้าของผู้สอนในระยะยาว สำหรับวิชาใดวิชาหนึ่งโดยกำหนดเนื้อหาสาระที่จะต้องดำเนินการสอนในระยะเวลาต่างๆ เช่น การกำหนดการสอนตลอดทั้งปี ตลอดเทอม และตลอดสัปดาห์ ดังนั้น การกำหนดการสอนซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. กำหนดการสอนรายปี
2. กำหนดการสอนรายภาค
3. กำหนดการสอนรายสัปดาห์
การกำหนดการสอนต้องคำนึงถึงกำหนดวันปิดและเปิดภาคเรียน วันหยุดวันสำคัญต่างๆ การหยุดเรียนในวันที่มีกิจกรรมพิเศษ ตลอดจนการกำหนดวันสอบย่อย สอบปลายเทอม การกำหนดการสอนเปรียบเสมือนการกำหนดตารางเวลาการดำเนินการสอนของผู้สอน การกำหนดเวลาและเนื้อหาสาระที่สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม โดยกำหนดเรื่องใดตอนใดต้องสอนก่อนหลังใช้เวลาแต่ละเรื่องมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสอนทำตามกำหนดที่ต้องการ
การกำหนดการสอนนี้จะทำแบบรายปี รายภาค รายสัปดาห์ ก็สามารถทำร่วมกันได้โดยจะเป็นรูปแบบอย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสมและผู้สอนเห็นสมควร
หลักการทำกำหนดการสอน
ผู้สอนควรทำแผนการสอนของกรมวิชาการ หรือแผนแม่บทกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเขียนไว้เขียนย่อๆ หรือคร่าวๆ มาพิจารณาหัวข้อเป็นหัวข้อย่อย บางหน่วยต้องเพิ่มเติมต้องนำไปทำแผนการสอนอย่างละเอียดอีกครั้ง ดังนั้น การทำกำหนดการสอนก็เพื่อให้ผู้สอนกำหนดแนวทางในการสอนตลอดปีหรือสอนตลอดภาคการเรียนว่า จะสอนอย่างไรให้เนื้อหาต่อเวลาในการสอนสัมพันธ์กันการทำกำหนดการสอนสามารถทำได้โดย
1. ผู้สอนที่สอนในระดับเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาด้วยกัน
2. ช่วยกันสำรวจจำนวนคาบที่จะสอนในแต่ละหน่วยว่าเหมาะสมหรือไม่
3. เริ่มหัวข้อแต่ละหัวข้อย่อยมากำหนดในการกำหนดการสอนโดยให้สัมพันธ์กับเวลาหรือจำนวนคาบที่จะใช้สอนโดยพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
4. พิจารณาจำนวนคาบเวลาในแต่ละสัปดาห์ของ แต่ละวิชาให้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเวลาเรียนกับเนื้อหาแต่ละหัวข้อ
ประโยชน์ของการกำหนดการสอน
การทำการสอนมีประโยชน์ ดังนี้
1. ใช้เป็นแนวทางในการทำแผนการสอนเพื่อใช้สอนได้สะดวก ผู้สอนสามารถเข้าใจและมองเห็นงานของตนได้ล่วงหน้าชัดเจน สามารถพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอในการคิดวางแผนล่วงหน้า ทำให้การสอนของผู้สอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างได้ผล
2. ช่วยให้การสอนเป็นไปตามหลักสูตร เหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องกับภาพแวดล้อมและชุมชนเสมอ
3. ทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้สอนใหม่ การรับงานของผู้สอนใหม่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ช่วยสอนกับผู้สอน การจัดการผู้สอนแทน ฯลฯ เป็นไปด้วยดีไม่มีกระทบกระเทือนต่อผู้เรียนเกินไป
4. ช่วยให้ผู้บริหาร ผู้นิเทศ รู้ลู่ทางที่จะแนะนำ ตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วยประการต่างๆ
5. ทำให้ประสิทธิผลสะดวก เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย หรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ความหมายของแผนการสอน
แผนการสอนหรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึง แนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการสอน หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดี ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี ในหลายๆด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธีการ ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น
ข้อควรคำนึงในการทำแผนการสอน
การทำแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้น ผู้สอนจะต้องเตรียมการล่วงหน้าโดยต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาหลักสูตร คู่มือครู หรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้เข้าใจ ตลอดจนศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดก่อนที่จะลงมือทำแผนการสอน
2. ความมุ่งหมายของสาระที่สอน ต้องให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของการศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเจตคติและด้านทักษะ ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ชัดเจน สามารถกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น
3. กำหนดขอบเขตของเนื้อหา บทเรียนในกลุ่มสาระต่างๆที่จะสอนว่าจะให้มีขอบข่ายกว้างขวางตลอดจนความสามารถของผู้เรียนเป็นส่วนประกอบ
4. ทำความเข้าใจเนื้อหาที่สอนอย่างแจ่มแจ้ง ถูกต้อง ชัดเจน รวมทั้งการหาความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
5. พิจารณาเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา วัยวุฒิภาวะของผู้เรียนและควรให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับที่จะสอนเรื่องนั้นๆด้วย
6. พิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอให้เหมาะสมกับวิธีที่การสอน
7. กำหนดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงแก่ผู้เรียน
8. ดำเนินการวัดและประเมินผลทุกครั้งที่ทำการสอน ด้วยวิธีต่างๆที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ลักษณะของแผนการสอนที่ดี
1.มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชญาของโรงเรียนด้วย
2. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับเวลา สภาพความต้องการและความเป็นจริงของท้องถิ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจและให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน
4. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. ควรมีการกำหนดกิจกรรม และประสบการณ์คำนึงถึงวัยผู้เรียน สภาพแวดล้อมกาลเวลาความสนใจของผู้เรียนรวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์แก่การเรียนการสอนได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของแผนการสอน
แผนการสอนโดยทั่วไป มีองค์ประกอบดังนี้
1. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2. หัวเรื่อง
3. ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
4. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. เนื้อหาสาระการเรียนรู้
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
7. สื่อการเรียนการสอน
8. ประเมินผล
9. หมายเหตุ
การปรับแผนหรือแผนการเรียนรู้โดยทั่วไปที่ทางกระทรวงศึกษาธิการ หรือกรมวิชาการหรือกรมสำนักพิมพ์ต่างๆจัดทำขึ้นนั้น เป็นแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้กลางๆที่เป็นแนวทางให้ผู้สอนได้นำไปใช้เหมือนกันทั้งประเทศ ดังนั้นเมื่อจะนำมาใช้จริงๆในห้องเรียนผู้สอนจะต้องปรับแผนนั้นๆเสียก่อน โดยอาจเพิ่มหรือลด ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของท้องถิ่น โดยผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันทำขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับวัยความต้องการและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนแผนการสอนที่ปรับแล้วดังกล่าว จึงเป็นแผนการสอนที่เหมาะสม ที่ผู้สอนสามารถนำไปใช้สอนได้จริงๆ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการปรับแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ในที่นี้หมายถึง การที่ผูสอนนำแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้แกนกลางที่มีการจัดทำไว้แล้วมาตีความ ขยาย ลด เพิ่ม หรือดัดแลงปรับปรุงให้เหมาะสม
การปรับแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ตามองค์ประกอบต่างๆในข้างต้น สามารถปรับได้ตามขอบเขตของการปรับแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ดังนี้
1. จุดประสงค์หรือแผนการเรียนรู้ ผู้ปรับแผนการสอนจะต้องปรับจุดประสงค์บางเรื่องให้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถประเมินผลหรือวัดได้ โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ทั่วไปที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
2. เนื้อหา เนื้อหาสาระในแผนการสอนของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดเนื้อหาไว้เป็นเพียงหัวข้อหยาบๆ หรือเป็นเพียงเค้าโครงเท่านั้น ในบางหน่วยอาจจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ในหลักสูตร เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ต้อเนื่องกัน ดังนั้นในการปรับเนื้อหาจึงสามารถทำได้ดังนี้
2.1 ปรับส่วนของเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน โดยนำเนื้อหาที่เป็นหัวข้อ หรือที่เป็นเค้าโครงนั้นทำให้ละเอียดชัดเจนขึ้น
2.2 ปรับส่วนของเนื้อหาต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น โดยการนำเนื้อหามาพิจารณาและปรับให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น
2.3 จัดเรียงลำดับหมวดหมู่ของเนื้อหาเสียใหม่โดยการนำเนื้อหาที่กำหนดได้มาจัดเป็นหมวดเป็นหมู่ เป็นพวกเป็นกลุ่มหรือบูรราการเข้าด้วยกันเพื่อสะดวกแก่การสอน
3. กิจกรรมการเรียนการสอน ในแผนการสอนได้กำหนดกิจกรรมเสนอแนะไว้มากมายเพื่อเป็นแนวทางในการสอน และช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์หรือมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในแผนการสอนบางหน่วย ผู้สอนอาจจะดัดแปลงหรือปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบทเรียนได้ โดยต้องคำนึงว่ากิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ ต้องเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ มุ่งฝึกปฏิบัติและฝึกทักษะในการแก้ปัญหาและสามารถช่วยให้ผู้เรียนผ่านจุดประสงค์ของการเรียนได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
4. สื่อการเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอนประกอบไปด้วยของจริง ของจำลอง วัสดุ อุปกรณ์ แผนภูมิ แผ่นภาพ และอื่นๆซึ่งผู้สอนจะปรับเปลี่ยนเป็นสื่อการเรียนการสอนประเภทอื่นๆที่หาได้ในท้องถิ่นมาแทนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสนุกสนานในบทเรียนและอยากจะเข้าร่วมในกิจกรรมมากขึ้น
5. การประเมินผล ในแผนการสอนกลางของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดวิธีการประเมินผลไว้ให้ผู้สอนได้เลือกใช้หลายวิธี ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกและแนะนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหา บทเรียน วัย วุฒิภาวะและความสามารถของผู้เรียน ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
รูปแบบของแผนการสอน
รูปแบบของแผนการสอนสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆ ได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1.รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะการเขียน แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
1.1 แบบเรียงหัวข้อ เป็นแผนการสอนที่เสนอแผนโดยเขียนเรียงลำดับตามหัวข้อที่กำหนดไว้ก่อนหลัง โดยไม่ต้องตีตาราง เขียนได้ง่าย กระชับ แต่มีข้อจำกัด คือยากต่อความต้องการดูความสอดคล้องสัมพันธ์แต่ละหัวข้อเพราะเขียนอยู่คนละหน้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแผนการสอนรูปแบบเรียงหัวข้อนี้จะมีความยาวประมาณ 2 หน้ากระดาษ โดยเขียนเรียงตามหัวข้อต่อไปนี้
1.1.1 ชื่อวิชาและระดับชั้น
1.1.2 ชื่อหน่วย เรื่องที่จะสอน และเวลาที่สอนเป็นคาบหรือชั่วโมง
1.1.3 ชื่อหัวข้อเรื่อง
1.1.4 ความคิดรวบยอด
1.1.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.1.6 กิจกรรมการเรียนการสอน
1.1.7 สื่อการเรียนการสอน
1.1.8 การประเมิน
1.1.9 หมายเหตุ
1.2 แบบกึ่งหัวข้อกึ่งตาราง แผนการสอนรูปแบบนี้บางครั้งนิยมเรียกสั้นๆว่า แผนการสอนแบบกึ่งตาราง เป็นแผนการสอนที่เสนอข้อความตามหัวข้อส่วนหนึ่ง และรายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง และรายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง โดยเขียนเรียงความหัวข้อมีดังนี้
1.2.1 ชื่อวิชาและระดับชั้น
1.2.2 ชื่อหน่วย เรื่องที่จะสอนและเวลาสอนที่เป็นคาบ
1.2.3 ชื่อหัวเรื่อง
1.2.4 ความคิดรวบยอด
1.2.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ส่วนที่เข้าตารางมีดังนี้
1.2.6 เนื้อหา
1.2.7 กิจกรรมการเรียนการสอน
1.2.8 สื่อการเรียนการสอน
1.2.9 ประเมินผล
1.2.10 หมายเหตุ
การเขียนแผนการสอนแบบกึ่งตารางมีข้อดีที่กำหนดขั้นตอนการสอนตามเนื้อหากำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนประเมินผลอย่างละเอียด ทำให้ผู้สอนที่นำแผนการสอนไปใช้สามารถทำแผนการสอนได้โดยสะดวก ส่วนข้อจำกัด คือแผนการสอนแบบกึ่งหัวข้อกึ่งตารางนี้ จะยากกว่าแบบเรียงหัวข้อ เพราะจะต้องตีตารางมีการกรอกข้อความลงในตารางที่จะต้องมีความชัดเจน และสัมพันธ์กันโดยตลอด
1.3 แบบกรมวิชาการ นำเสนอไว้เป็นตัวอย่างในการเขียนแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งนำไปดำเนินการปรับใช้ได้ตมความเหมาะสม
2. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะของการใช้ การสอนในระดับต่างๆ ได้แก่ อนุบาลช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษาและอุดมศึกษานั้นย่อมมีรูปแบบของแผนการสอนที่แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมและสะดวกในการใช้ในแต่ละระดับชั้นซึ่งพอสรุปรูปแบบของแผนการสอนที่เหมาะสมกับระดับชั้นได้ดังนี้
2.1 ระดับอนุบาลและช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษา นิยมใช้แผนการสอนแบบกึงตารางเพราะทำให้ผู้สอนสามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนของผู้เรียนที่สัมพันธ์กับจุดประสงค์ สื่อการสอนและการประเมินผลได้ชัดเจน
2.2 ระดับช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษานิยมใช้แบบกึ่งตารางในระดับมัธยมตอนต้น (ม. 1- ม.3 )ส่วนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-ม.6 )นิยมใช้แผนการสอนแบบเรียงหัวข้อ
2.3 ระดับอุดมศึกษา นิยมใช้แผนการสอนแบบเรียงหัวข้อสอบกะทัดรัดและผู้สอนสามารถเขียนแผนการสอนได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก
ขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน
ก่อนจะลงมือเขียนแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรได้ศึกษารายละเอียดตามขั้นตอนในการเขียนแผนการสอนตามหัวข้อต่างๆ โดยศึกษาจากกำหนดการสอนและตารางสอนว่าเรื่องที่จะสอนนั้นเป็นเรื่องอะไร ใช้เวลากี่คาบ แล้วศึกษาแผนการสอนแม่บทของกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ และคู่มือครูโดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาแผนการสอนแม่บท และปรับแผนการสอนเนื้อหาโดยแบ่งหัวข้อของเนื้อหาโดยย่อยลงไปในการแบ่งหัวข้อของเนื้อหาจะแบ่งย่อยพอที่จะสอนในแต่ละครั้ง ซึ่งเวลาที่จะสอนในแต่ละครั้งจะไม่เท่ากันแล้วแต่เนื้อหาในการจัดตารางสอนของแต่ละโรงเรียน
2. ศึกษาความคิดรวบยอดทั้งหมดของแม่บทนั้นลืมเรื่องนั้นให้เข้าใจ
3. ศึกษาจุดประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหลายของสาระนั้น เพื่อทำความเข้าใจว่าสอนแบบนี้แล้วผู้เรียนทำอะไรบ้าง ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการทดสอบการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. ศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง สอนความคิดรวบยอดและจุดประสงค์ที่กำหนดได้หรือไม่ เนื้อหาแต่ละเรื่องสอดคล้องกับสาระในจุดประสงค์ข้อใด และความคิดรวบยอดข้อใด
5. ศึกษากิจกรรมการเรียนทั้งหมดตรวจสอบดูว่ากิจกรรมทั้งหมดแต่ละเรื่องตรงตามเนื้อหาหรือไม่ จะต้องหามาได้โดยวิธีใด อย่างไร และถ้าทำเองจะทันเวลาหรือไม่
6. ศึกษาการวัดผลและประเมินผลแต่ละครั้งที่สอนเมื่อใช้วิธีอย่างไร วิธีเหล่านั้นเหมาะสมกับการวัดเนื้อหาและกิจกรรมที่กล่าวไว้หรือไม่
การเขียนแผนการสอน
จากองค์ประกอบของแผนการสอน รูปแบบของแผนการสอนและขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน เราสามารถนำมาเขียนเป็นแผนการสอนระดับชั้นต่างๆ หรือตามความต้องการและความละเอียดในการใช้ได้ตามหัวข้อต่างๆดังนี้
1. ชื่อกลุ่มสาระช่วงชั้นและระดับชั้น เมื่อกำหนดที่จะทำแผนการสอนของกลุ่มสาระหรือเนื้อหาใด ควรเขียนให้ละเอียดเช่น กลุ่มสาระภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่องการเขียนเรียงความ เป็นต้น
2. ชื่อหน่วย หัวเรื่อง เวลาและวันที่เมื่อกำหนดกลุ่มสาระหรือเรื่องที่จะสอนแล้ว ให้ดูในแผนการจัดการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ศึกษาหน่วยที่เท่าไร เช่นหน่วยที่ 2 ชีวิตในบ้านเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว เวลา 17 คาบ วันที่ 7 สิงหาคม 2549 เป็นต้น
3. มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด ซึ่งหมายถึง สาระสำคัญข้อสรุปหรือความคิดครั้งสุดท้ายที่เกิดกับผู้เรียนในลักษณะที่สั้นที่สุด ความคิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากผู้เรียนได้รับประสบการณ์และเกิดการเรียนรู้เรื่องนั้นแล้ว มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดของ นี้จะเป็นทักษะที่เก่งแท้ของเนื้อหาวิชาความคิดรวบยอดของแต่ละคนที่เกี่ยวกับสิ่งเดียวกันอาจไม่เหมือนกัน เพราะประสบการณ์ต่างๆการและความคิดรวบยอดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ต่างจากเดิม แต่เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วผู้เรียนจะต้องสรุปลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นเมื่อพบสิ่งไหนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหรือเหมือนกับสิ่งที่เคยพบมาก่อนต้องสามารถบอกได้ว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นสิ่งใหม่ ตัวอย่างความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ เช่น เรื่องหน้าที่และคงามรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว มีความคิดรวบยอดว่า การที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี ครอบครัวย่อมมีความสุข เป็นต้น บางแผนการสอนในระดับชั้นอุดมศึกษา หัวข้อนี้อาจใช้คำว่า สาระสำคัญหรือแนวคิดก็ได้
4. คุณสมบัติที่ต้องการเน้น โดยทั่วไป แผนการสอนเดิมจะไม่มีการเขียนไว้ อต่ดารเรียนการสอนในปัจจุบันจะเน้นให้มีการฝึกให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติที่ดีใยด้านต่างๆ โดยในการสอนแต่ละครั้ง ผู้สอนตวรพิจารณากิจกรรมดารเรียนการสอน ที่สอนในแต่ละครั้งว่าสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และคุณธรรม 30 ข้อ ในจริยศึกษาข้อใดบ้างที่มีคุณสมบัติที่ต้องการเน้นผู้เรียนทำงานร่วมกัน คุณสมบัติที่ต้องการเน้นก็อาจจะได้แก่ ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความมีเหตุผล เป็นต้น ในส่วนของคุณสมบัติที่ต้องการเน้นตามมาตรฐานการเรียนรู้นี้ ในแผนการสอนอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นจุดประสงค์ที่สังเกตและวัดได้เมื่อผู้เรียนศึกษาหรือเรียนเรื่องวันนั้นแล้วเกิดการเรียนรู้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในปัจจุบันตามแผนการจัดการเรียนรู้นิยมเขียนจุดประสงค์ในแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้เป็น 2 ประเภท คือ
5.1 จุดประสงค์ทั่วไป หรือในแผนการสอนใช้คำว่าจุดประสงค์ปลายทาง ซึ่งหมายถึงการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนที่ต้องการให้เกิดขึ้น เมื่อการเรียนการสอนเรื่องนั้นๆ จบสิ้นลง เช่น ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอากาศและประโยชน์ของอากาศต่อสิ่งมีชีวิตได้เป็นต้น
5.2 จุดประสงค์เฉพาะในแผนการสอนใช้คำว่า จุดประสงค์นำทาง ซึ่งหมายถึง การกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนในรูปแบบของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น หลังจากผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาในบทนี้แล้ว ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้ เช่น เมื่อผู้เรียนศึกษาอากาศและส่วนประกอบของอากาศจบแล้ว ผู้เรียนสามารถบอกความหมายของอากาศและบรรยากาศได้อธิบายส่วนประกอบของอากาศได้ ระบุประโยชน์ของอากาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ เป็นต้น
6. เนื้อหา ในปัจจุบันอาจใช้สาระการเรียนรู้เป็นเนื้อหาสาระของบทเรียนเร็วระดับชั้นต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของระดับชั้นนั้นๆ เนื้อหาที่กำหนดไว้ในจะเป็นเพียงหัวข้อเรื่องหรือเค้าโครงเรื่องสั้นๆเท่านั้น ผู้สอนจำเป็นต้องนำหัวข้อหรือเค้าโครงเหล่านั้นมาขยาย ศึกษาและหารายละเอียด เพิ่มเติมจากเอกสารต่างๆเขียนบันทึกขยายความในแผนการสอนให้ชัดเจนว่าต้องสอนอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานั้นมีขอบเขตของเนื้อหากว้างขวางลึกซึ้งเพียงใด
7. กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในปัจจุบันนิยมยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ฉะนั้นผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ผู้เรียนจะได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในขณะทีเรียนได้อย่างเต็มที่ มีการพัฒนาทั้งด้านร่างการ สังคม อารมณ์ และสติปัญญา กิจกรรมการเรียนการสอนโดยทั่วไปในแผนการจัดการเรียนรู้มักแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน ขั้นสรุป และขั้นวัดผล สำหรับขั้นวัดผลนี้อาจอยู่ในส่วนองการประเมินก็ได้
8. แหล่งการเรียนรู้/สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ หรือวิธีการต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นสื่อการเรียนการสอนทั้งสิ้น ซึ่งสื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากศึกษา อยากเรียน อยากรู้ และในบางครั้งช่วยเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง ผู้สอนควรมีทักษะในการเลือกใช้ การใช้ การทำนุบำรุงรักษาตลอดจนการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนขึ้นใช้เองหรือแสวงหาจากท้องถิ่นของตนโดยคำนึงถึงการประหยัดทั้งทุนทรัพย์และเวลาเป็นสิ่งสำคัญ
9. การประเมินผล การประเมินผลนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการวัดผลในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนนำผลจากการวัดด้วยวิธีการต่างๆเช่นการตอบคำถาม การเข้าร่วมกิจกรรมในระหว่างเรียน การสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้ การทำแบบฝึกหัด เป็นต้น มาประเมินผลโดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ผู้สอนสามารถทราบได้ว่า ผู้เรียนได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้หรือไม่มากน้อยเพียงใด
10. หมายเหตุ ในแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่จะเพิ่มส่วนของหมายเหตุไว้ในตอนท้าย องค์ประกอบของแผนการสอนในส่วนต่างๆที่ระบุไว้แล้ว เช่น อาจบันทึกว่าผู้เรียน 5 คนไม่ได้เข้าชั้นเรียนเพราะต้องไปเป็นตัวแทนแห่เทียนพรรษา หรือการสอนครั้งนี้เป็นครั้งแรกจึงเสียเวลาไป 20 นาที เพื่อทักทายและการสร้างความคุ้นเคยกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน และทำแบบทดสอบเป็นต้น
ประโยชน์ของการเขียนแผนการสอน
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ทำให้เกิดประโยชน์แก่สอนและการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. ทำให้การสอนของผู้สอนมีเป้าหมายที่ชัดเจน
2. ผู้สอนได้เตรียมตัวก่อนที่จะไปสอน ทำให้รู้ล่วงหน้าและเตรียมการสอนได้ถูกต้องครอบคลุมเนื้อหา ตลอดจนสามารถวางแนวทางแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการสอนได้
3. ทำให้การจัดกิจกรรมการสอนดำเนินไปตามลำดับขั้นที่กำหนด
4. ทำให้ผู้สอนมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และสามารถปฏิบัติการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ช่วยให้ผู้สอนสามารถดำเนินงานในการเรียนการสอนได้ตรงตามหลักสูตร
5. การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการวางแผนการจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนไว้ล่วงหน้า เสมือนแผนที่ในการเดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรมจะต้องมีความเข้าใจถึงหลักสูตรรายวิชา ธรรมชาติของรายวิชา ทักษะเฉพาะรายวิชาที่ผู้สอนจะต้องสอดแทรกเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ที่ครูจะต้องสอนแล้วโดยทั่วไปส่วนใหญ่ผู้สอนมักจะเน้นเพียงแค่สาระการเรียนรู้พยายามเร่งสอนเพื่อให้สุกตามเป้าหมายของระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน โดยยังไม่คำนึงถึงผู้เรียนว่ากิจกรรมที่จัดให้กับผู้เรียนมีความเหมาะสมเพียงใด ผู้เรียนบรรลุและสามารถปฏิบัติสิ่งที่คุณตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่เราถ่ายทอดมากน้อยเพียงใด ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในการจัดหน่วยการเรียนรู้จากนั้นจึงนำหน่วยการเรียนรู้มาวิเคราะห์เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ย่อยๆได้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มีรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบหรือรูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้
ก่อนที่จะทำการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรเลือกใช้รูปแบบการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับองค์กร และหน่วยงานที่ปฏิบัติ
อผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้แล้วนั้นผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยามหรือความหมายของแต่ละหัวข้อในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามความหมายดังนี้
1. ความเข้าใจที่คงทน หมายถึง ความรู้ความเข้าใจที่ต้องการให้นักเรียนจำฝังใจ หรือมีความเข้าใจในเรื่องที่สอนไปอย่างยาวนาน เช่น สอนเรื่องสิ่งแวดล้อมในเขื่อนศรีนครินทร์ ความรู้ที่คงทน คือการรู้ประโยชน์ของป่าที่เขื่อนศรีนครินทร์
2. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ได้ทำการวิเคราะห์มาจากโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้นำเลือกมาใช้ในแผนการจัดการเรียนรู้ให้ตรงกับสาระการเรียนรู้ที่สอน
3. สาระสำคัญ หมายถึง ความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระที่จะทำการจัดการเรียนรู้ในเรื่องเรื่องหนึ่งโดยสรุปได้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและตัวชี้วัดที่จะนำมาจัดการเรียนรู้นักเรียน
4. วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายนำทางที่ตั้งไว้ในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ไปถึงคุณภาพของมาตรฐานและตัวชี้วัดในการเรียนรู้เรื่องนั้นๆ โดยจะต้องสอดคล้องกับภาระงานและชิ้นงาน
5. สาระการเรียนรู้ หมายถึง สาระเนื้อหาวิชาที่ทำการสอนที่ได้จากการวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัด ที่จะแตกออกเป็น ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ
6. สมรรถนะที่สำคัญ หมายถึง ที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ 5 สมรรถนะให้เลือกมาใช้ให้เหมาะสมกับตัวชี้วัดที่จะทำการพัฒนาผู้เรียนในเรื่องที่ทำการจัดการเรียนรู้
7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณลักษณะ 8 ประการที่กระทรวงกำหนดให้ครูจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสอดคล้องกับเรื่องที่จะทำการจัดการเรียนรู้
8. ชิ้นงาน/ภาระงาน หมายถึง ภาระ/ชิ้นงานที่มอบให้กับผู้เรียนที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัด
9. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตามเนื้อหาสาระ และกระบวนการพัฒนาผู้เรียน โดยเลือกกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และทักษะกระบวนการที่จะจัดส่งถึงให้ผู้เรียน
9.1 กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction Activities) หมายถึง ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนเป็นการกระตุ้นเร้าความสนใจของผู้เรียนที่อยากจะเรียนรู้อาจจะเริ่มด้วยเพลง เกม การเล่าเรื่องในท้องถิ่น การพาไปดูสถานที่จริง การดูวีดีทัศน์ การเล่านิทานฯลฯ
9.2 กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้(Enabling Activities) เป็นขั้นที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนตามเนื้อหาสาระอย่างเป็นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการ เทคนิค วิธีการที่เหมาะสมในสาระการเรียนรู้ต่างๆ
9.3 กิจกรรมความคิดรวบยอด (Concept Activities) หมายถึง กิจกรรมที่ส่งท้ายให้กับผู้เรียนได้แสดงถึงความรู้ ความเข้าใจในการเรียนเนื้อหาที่ผ่านมา และเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อยากเห็นภาพรวมของเนื้อหาที่เรียนมา อาทิเช่น การเขียนแผนผังมโนทัศน์ การเล่นบทบาทสมมุติ การแสดงละคร การเขียนบรรยาย เกมสรุปความคิด เกมคําถาม ฯลฯ ซึ่งเป็นบทสรุปการเรียนรู้ในเรื่องที่สอนก่อนจบเรื่องในบทเรียนนั้น
10. สื่อ/แหล่งเรียนรู้ หมายถึง สื่ออุปกรณ์ วัสดุ แหล่งเรียนรู้ เป็นสื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้นในเนื้อหาวิชาที่ทำการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ได้เรียนรู้จริง ได้เห็นจริง และเข้าใจในสิ่งที่ครูถ่ายทอดมากยิ่งขึ้น
11. บันทึกหลังสอน หมายถึง การบันทึกข้อมูลหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบรรยายที่เกิดขึ้นของผู้เรียนตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร และปรับกิจกรรมการสอนอย่างไร ถ้าพบเป็นการบันทึกหลังจากการใช้แผนการจัดกิจกรรมที่วางไว้และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะ และกระบวนการ
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์สาระหน่วยการเรียนรู้และตัวชี้วัด
ก่อนที่จะทำการเขียนแผนการสอนนั้นผู้สอนจะต้องทําการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหน่วยนั้นเป็นแผนผังมโนทัศน์ หรือประเด็นตามความเหมาะสม แล้วนำการวิเคราะห์มาสรุปสาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด /จุดประสงค์/ ผลการเรียนรู้ลงตารางจำแนกการจัดกิจกรรมรายชั่วโมงเนื่องจากหน่วยการเรียนรู้เป็นหน่วยที่มีจำนวนรายชั่วโมงมาก และแต่ละหน่วยก็จะมีเนื้อหาสาระที่เป็นจำนวนมากจะทำให้ผู้สอนเกิดการผิดพลาดในเรื่องของสาระการเรียนรู้ที่จะสอนผู้เรียน การวัดผู้เรียนไม่ครอบคลุมตัวชี้วัด /จุดประสงค์ /ผลการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ อีกทั้งกระบวนการจัดกิจกรรมไม่สัมพันธ์กับเวลาที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน จึงทำให้ผู้สอนไม่รู้จะสอนแล้วครบตามสาระการเรียนรู้หรือไม่ และหาทางออกโดยการสอนตามแบบเรียนทั่วไป
ในบางครั้งผู้สอนอาจจะวิเคราะห์ตัวชี้วัด เพิ่มช่องจุดประสงค์ผลการเรียนรู้เพิ่มเติม ได้ เพื่อใช้ในการประเมินผลผู้เรียน เสมือนเป็นจุดประสงค์นำทางให้ผู้เรียนได้บรรลุตัวชี้วัด ได้อีก ก็สามารถจะทำได้ตั้งแต่การตั้งจุดประสงค์ ควรพึงระวังการหลงประเด็น เป้าหมายของตัวชี้วัดบางตัวชี้วัด บางตัวสามารถนำไปใช้ได้เลย แต่บางตัวชี้วัดอาจจะต้องมี การแยกออกเป็นรายข้อย่อยเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในลักษณะของจุดประสงค์ หรือผลการเรียนรู้แล้วแต่สถาบัน ในการนำไปใช้เมื่อจำแนกได้ครอบคลุมเป็นที่เรียบร้อยแล้วในหน่วยที่จะทำการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม
ในขั้นตอนนี้ผู้สอนจะต้องทำการศึกษาด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และตัวชี้วัด/จุดประสงค์/ผลการเรียนรู้ในแต่ละเรื่องที่จะทำการวางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนรู้ โดยจะต้องมีพื้นฐานปัจจัยวิเคราะห์การเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ เทคนิคการจัดการเรียนรู้ได้ดังนี้
1. เนื้อหาสาระที่จัดให้กับผู้เรียน
2. มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด
3. ลักษณะผู้เรียนที่จะจัดการเรียนรู้
4. บริบทของโรงเรียน
5. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
6. ความพร้อมของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้
ซึ่งพื้นฐานดังกล่าวผู้สอนจะต้องทราบก่อนจะทำการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุตามเป้าหมายนั้น จะต้องวิเคราะห์เลือกให้เหมาะสม รายวิชาเดียวกัน สาระการเรียนรู้เดียวกับชั้นเดียวกัน แต่การจัดการเรียนรู้สามารถแตกต่างกันได้ไม่จำเป็นที่ผู้สอนต้องสอนแบบเดียวกันด้วยปัจจัยข้างต้น และรูปแบบ วิธีการจัดการเรียนรู้สามารถศึกษาได้จากเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯและผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ลงมือวางแผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อได้ทำการศึกษาขั้นตอนข้างต้นจนได้ข้อมูลเพียงพอต่อการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว ผู้ส่งจะต้องลำดับการเขียนจากการวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ สาระสำคัญของการจัดกิจกรรม ภาระงาน ชิ้นงาน กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และเอกสาร สื่อต่างๆ ที่ใช้ประกอบการสอนโดยในขณะเขียนแผนหรือวางแผนการจัดการเรียนรู้นั้นครูผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการได้ตลอดเวลาเพื่อความเหมาะสมก่อนนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้และเป็นการทบทวนการวางแผนการเขียนการสอนว่าจัดกิจกรรมได้ตรงตามเป้าหมายหรือไม่อย่างไร จะต้องปรับเปลี่ยนตรงไหนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นที่ 5 จัดเตรียมเครื่องมือ สื่อการสอน แหล่งเรียนรู้
เมื่อเขียนแผนการจัดการเรียนรู้หรือวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงอีกประการคือ สื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ผู้สอนจะทำการถ่ายทอดสู่ผู้เรียน ซึ่งผู้สอนจะต้องทำการศึกษาขั้นตอนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้ นำมาศึกษาและจัดสร้างเอกสารตามกระบวนการ และตามเป้าหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งการจัดเตรียมเครื่องมือมีมากมายหลายอย่างดังนี้
ด้านสื่อ
1. เอกสารประกอบการสอน
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.ตัวอย่างของจริง
4. บัตรคำ
5. แผ่นโปสเตอร์
6. ชุดการสอน
7.แบบฝึกทักษะ
8.กระเป๋าหนัง
9.ฯลฯ
ด้านแหล่งเรียนรู้
1. บุคคลสำคัญในท้องถิ่น
2. บาทท้องถิ่น
3. ห้องสมุด
4. สถานที่ในท้องถิ่น
5.ฯลฯ
จากการเตรียมการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องเลือกใช้ให้ตรงกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ได้เขียนวางแผนไว้แล้วนั้น แล้วนำมาจัดหา จัดสร้างขึ้น เพื่อจัดเตรียมนำไปใช้กับนักเรียนต่อไป ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สื่อนั้นจะต้องศึกษารายละเอียดในลำดับต่อไป
การประเมินผลภาระ/ชิ้นงาน
เมื่อทำการสร้างสื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้นสิ่งที่ครูจะต้องสร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบผู้เรียนว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ ตามตัวชี้วัด จุดประสงค์และผลการเรียนรู้หรือไม่นั้นก็คือ เอกสารการประเมินผลภาระงานและชิ้นงาน
แนวทางการให้คะแนนเกณฑ์การประเมิน(Rubric)
1. เกณฑ์ (Criteria)
2. ระดับน้ำหนักของคะแนน(Scales)
3. คำอธิบายคุณภาพงาน(Performance Description)
4. แนวการให้คะแนน(Scoring Guides)
ขั้นที่ 6 ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ/ฝ่ายวิชาการ/ผู้อำนวยการโรงเรียนก่อนนำไปใช้ในชั้นเรียน
เบื้องหลังแผนการจัดการเรียนรู้เป็นที่เรียบร้อยแล้วผู้สอนจะต้องนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อไปให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหมวด หรือผู้บริหารโรงเรียนได้ทำการตรวจสอบอีกครั้งก่อนนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้
1. ทบทวนกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้กับผู้เรียนว่ามีความเหมาะสมอย่างไร ที่จะนำไปใช้จริงมีประเด็นใดอีกที่ครูผู้สอน จะต้องเพิ่มเติมอีก เพื่อนที่ผู้สอนจะได้ไปเพิ่มเติมก่อนนำไปจัดการเรียนรู้กับนักเรียนในชั้นเรียน
2. สร้างความมั่นใจให้กับครูผู้สอน ในการจัดการเรียนรู้ในบางครั้งครูมีความรู้ในเนื้อหาแต่ไม่เชี่ยวชาญด้านการสอนทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าที่ตนเองจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้มานั้นจะนำไปใช้จริงได้หรือไม่ นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ตามเป้าประสงค์ด้วยวิธีการสอนและการประเมินโดยสิ่งที่ผู้สอนสร้างขึ้นหรือไม่ การตรวจสอบจะช่วยให้ผู้สอนได้เกิดความมั่นใจก่อนนำไปใช้กับผู้เรียนและสามารถสร้างประสบการณ์ในด้านวิธีสอน
3. สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการพัฒนาวิชาชีพ มีการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้สอน เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างผู้สอนกับผู้สอน ผู้สอนกับผู้บริหาร เป็นต้น นับเป็นการวิธีการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนของผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการ ฯลฯ ก่อนนำไปจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ และผู้สอนสามารถนำความรู้จากการแลกเปลี่ยนนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งต่อไป
ขั้นที่ 7 นำแผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเพราะจะต้องนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้นำมาจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนเป็นผู้วางแผนในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ตามที่ได้วางแผนการจัดการเรียนรู้ไว้แต่ต้น และลำดับขั้นตอนจนจบกระบวนการของการจัดกิจกรรม จากนั้นทำการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้จากแผนที่สร้างขึ้นว่ามีเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่อย่างไร ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กี่คนมีกี่คนที่จะต้องพัฒนาเพิ่มด้านใดบ้าง และแผนการจัดกิจกรรมขั้นตอนใดบ้างที่เราข้ามหรือไม่ได้สอนเพราะอะไรครั้งหน้าเราจะปรับอะไรบ้างเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งต่อไป
ของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ประโยชน์ของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีประโยชน์โดยตรงกับตัวผู้เรียนเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนรู้ สามารถสรุปประโยชน์ของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้ดังนี้
1. เพิ่มความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการคาดเดาสิ่งต่างๆไว้ล่วงหน้า ดังนั้นครูผู้สอนจะทราบเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ และเดินตามแนวจนบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ครั้งหนึ่งๆ อาทิเช่น การถามคำถามในเรื่องที่สอน การจัดกิจกรรม การสร้างแรงจูงใจ การประเมินผล ซึ่งครูก็จะสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมได้อย่างราบรื่น
2. ช่วยให้การจัดการเรียนรู้ได้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่าผู้เรียนบรรลุมาตรฐาน ตัวชี้วัด จุดประสงค์ ผลการเรียนรู้ได้ในระดับใดเป็นไปตามการวางแผนที่เขียนในแผนการจัดการเรียนรู้หรือไม่ อีกทั้งสามารถเลือกกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยคำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนจะช่วยให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนวิธีการ วัดผลประเมินผลที่ส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องกันอย่างเป็นลำดับการพัฒนา
3. ช่วยให้ผู้สอนได้แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เกิดประโยชน์ที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือจะช่วยให้ผู้สอนได้แนวทางในการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งร่องรอยจากการบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้จะเป็นส่วนช่วยที่จะให้ครูได้สามารถนำประเด็นจากการบันทึกที่เป็นไปหามาเป็นแนวทางในการที่ผู้สอนจะพัฒนาผู้เรียนที่ออกได้หรือผลการจัดกิจกรรมที่ยังไม่สัมฤทธิ์มาพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น และเกิดระบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบมากขึ้น
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน ๖๗ มาตรฐาน ดังนี้
ภาษาไทย
สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง มีประสิทธิภาพ
สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
คณิตศาสตร์
สาระที่ ๑ จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง
การดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๑.๓ ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๑.๔ เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ ๒ การวัด
มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค ๒.๒ แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ ๓ เรขาคณิต
มาตรฐาน ค ๓.๑ อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค ๓.๒ ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)
และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
สาระที่ ๔ พีชคณิต
มาตรฐาน ค ๔.๑ เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค ๔.๒ ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical model) อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ ๕ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค ๕.๑ เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค ๕.๒ ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค ๕.๓ ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ ๖ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค ๖.๑ มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์
สาระที่ ๑ : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว ๑.๑ เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของ
ระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว ๑.๒ เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๒ : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับ
ท้องถิ่น ประเทศและโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ ๓ : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว ๓.๑ เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๓.๒ เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลายการเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๔ : แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว ๔.๒ เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๕ : พลังงาน
มาตรฐาน ว ๕.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๖ : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว ๖.๑ เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์
ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๗ : ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว ๗.๑ เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ
และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๗.๒ เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและ
ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ ๘ : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว ๘.๑ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
มาตรฐาน ส.3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาตร์ วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ
มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถ วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรักความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ ก่อให้เกิด การสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
มาตรฐาน พ 1.1 เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย กีฬาสากล
มาตรฐาน พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ 3.2 รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำและสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณ ใน การแข่งขัน และชื่นชมในสุนทรียภาพของ การกีฬา
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด และความรุนแรง
ศิลปะ
สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ ๑.๑ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์
วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๑.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างาน
ทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
สาระที่ ๒ ดนตรี
มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
สาระที่ ๓ นาฏศิลป์
มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่า
นาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง๑.๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะ การจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึก ในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ ๒ การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง ๒.๑ เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
สาระที่ ๓ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง ๓.๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม สาระที่ ๔ การอาชีพ
มาตรฐาน ง ๔.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ภาษาต่างประเทศ
สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
กับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. กิจกรรมแนะแนว
2. กิจกรรมนักเรียน
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียนทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัยความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดีความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย
– กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร
– กิจกรรมชุมนุม ชมรม
กิจรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตน ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม
6. แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ หรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึงแนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน หรือแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจจะต้องปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยยึดความคิดรวบยอด จุดประสงค์ของการเรียนรู้ หรือผลลัพธ์ของการเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการจัดการเรียนรู้หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดีผู้สอนจะต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ในหลาย ๆ ด้านได้แก่ ด้านความรู้ และเทคนิควิธีตลอดจนการนำสื่อมาใช้เป็นต้น
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
1. มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชญาของโรงเรียนด้วย
2. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับกาลเวลา สภาพความต้องการและความเป็นจริงของท้องถิ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนยิ่งขึ้น
4. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. พิจารณากำหนดการใช้เวลาที่จะทำการสอนแต่ละเรื่อง แต่ละหัวข้อให้เหมาะสม โดยใช้วิธีวิเคราะห์ หลักสูตรเป็นแนวทางในการกำหนดการใช้เวลา
6. ควรมีการกำหนดกิจกรรมและประสบการณ์ โดยคำนึงถึงวัยของผู้เรียน สภาพแวดล้อม กาลเวลา ความสนใจของผู้เรียน และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แก่การเรียนการสอนได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
1. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2. หัวเรื่อง
3. ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
4. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
7. สื่อการเรียนการสอน
8. ประเมินผล
9. หมายเหตุ
7. การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า ได้ดำเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการวัดและประเมินผลได้เป็นอย่างดี
การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกำหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะของสิ่งที่วัดโดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนคำว่า การประเมินผล เป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของโครงการการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน
สรุป
การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเดินการสอนอย่างละเอียดเพื่อจะได้ดำเนินการเองการสอนได้ถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์การวางแผนการสอนเป็นการเลือกและตัดสินใจเพื่อหาทางออกให้ดีที่สุด ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมีการจัดเตรียมเนื้อหาโดยนำเนื้อหามาบูรณาการกันทำให้เกิดการง่ายต่อการศึกษาธรรมความเข้าใจ
ในการวางแผนการสอนนั้นผู้สอนหรือผู้วางแผนต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอนได้แก่ สภาพปัญหาและทรัพยากร การวิเคราะห์เนื้อหา
การวิเคราะห์ผู้เรียน ความคิดรวบยอด วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนสื่อ การสอนและการประเมินผล การวางแผนการสอนสามารถทำให้สองแนวทางได้คือ การวางแผนระยะยาวและการวางแผนระยะสั้น
ที่มา
หนังสือ วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. ผศ.ดร.พิจิตรา ธงพานิช. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น